ปลาทองหางเปื่อย

โรคยอดฮิตที่ต้องระวัง ปลาทองหางเปื่อย ใช้ยาแบบไหนรักษาดี

การเลี้ยงปลาสวยงามหรือปลาทองนั้น ก็เหมือนกับการเลี้ยงสัตว์ชนิดอื่น ๆ คือต้องดูแลเอาใจใส่ เพียงแต่การเลี้ยงปลามันมีพื้นที่จำกัดคือต้องมีบ่อเลี้ยงที่เหมือนเป็นบ้านให้กับพวกเขา และถ้าวันหนึ่งบ้านนั้นสกปรกขึ้นมา ก็ทำให้เป็นสาเหตุให้ปลาทองหางเปื่อยได้ เพราะปลาสวยงามเหล่านี้ล้วนต้องการอยู่อาศัยในน้ำที่มีคุณภาพสะอาด หากน้ำเน่าจากเศษอาหารเหลือหรือสกปรกขึ้นมา ก็สร้างโรคร้ายให้กับน้องปลาด้วยเช่นกัน และหากปล่อยทิ้งไว้ไม่รักษา ดูแลต่อก็จะทำให้ปลาทองนั้นค่อย ๆ จากไปอย่างทรมาน

อาการของโรคปลาทองหางเปื่อยนั้น ผู้เลี้ยงจะสังเกตได้ง่ายเลยว่าปลาทองจะมีอาการเซื่องซึม ทานอาหารได้น้อยหรือไม่ว่ายเข้าหาอาหารเลย และลักษณะการว่ายน้ำจะมีการกระตุกหรือสั่นเป็นพัก ๆ ลำตัวมีสีและรูปร่างปกติ แต่ส่วนหางนั้นจะขาดหรือแหว่งคล้ายโดนกัด และมีสีขุ่นขาวหรือแดง หากปล่อยทิ้งไว้จะทำให้หางนั้นเปื่อยค่อย ๆ หลุดไปและลุกลามไปจนถึงโคนหางและครีบจนหลุดร่อนออกหมด ผลสุดท้ายแล้วหากไม่รักษาจะทำให้ปลาทองตายได้ในที่สุด

ซึ่งการเปลี่ยนน้ำในแต่ละครั้งนั้น ควรเปลี่ยนน้ำออกไปซัก 30% ของบ่อปลาที่เลี้ยง ขึ้นอยู่กับว่าผู้เลี้ยงเลี้ยงน้องปลาทองในตู้ปลาขนาดเท่าไร หรือเลี้ยงลงในบ่อที่มีขนาดกว้าง ซึ่งโดยปกติของคนเลี้ยงปลาสวยงามแล้วจะทำการถ่ายน้ำออก เปลี่ยนน้ำใหม่ในรอบทุกสองสัปดาห์ หรือหากเลี้ยงเยอะแล้วมีระบบกรองน้ำที่ไม่เพียงพอ อาจจะเปลี่ยนน้ำในทุกสัปดาห์ได้ โดยไม่ให้เกินกว่า 30% ของบ่อ เพราะจะทำให้ปลาช็อกน้ำใหม่ รวมไปถึงอุณหภูมิของน้ำที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว ทำให้น้องปลารู้สึกไม่สบายตัวได้

วิธีรักษา ปลาทองหางเปื่อย

การรักษาอาการป่วยโรคหางเปื่อยของปลาทอง

ไม่ว่าจะเป็นโรคปลาทองหางเปื่อยหรือปลาทองมีอาหารตกเลือด มีเห็บเกาะที่ตัว ยาสามัญที่คนรักปลาแนะนำกันในกลุ่มเลี้ยงปลาทองส่วนมาก คือ ยาเหลืองญี่ปุ่นที่มีขายกันอยู่ทั่วไป และมีคุณสมบัติที่รักษา จำกัดแบคทีเรียในน้ำที่ไม่เป็นอันตรายต่อตัวปลา  อีกทั้งยังเป็นยาชนิดผลที่สามารถละลายน้ำได้อย่างรวดเร็ว โดยไม่ตกค้าง สรรพคุณพิเศษอีกอย่างหนึ่งก็คือ สามารถดูดซึมได้ดี ทำให้การรักษาโรคที่เกิดขึ้นกับตัวน้องปลานั้นบรรเทาดีขึ้นจนแข็งแรงกลับมาเป็นปกติ

ส่วนยาสามัญประจำบ้านสำหรับการรักษาปลาทองหางเปื่อยอีกตัวหนึ่งคือ เกลือ และต้องเป็นเกลือธรรมดาที่ไม่ผสมสารใด ๆ เจือปน อย่างไอโอดีน ทุกบ้านที่เลี้ยงปลาทองสามารถนำเกลือทะเล เกลือหยาบแบบเกล็ด หรือละเอียดใช้รักษาได้ เหตุผลที่เกลือสามารถรักษาโรคหางเปื่อยได้นั้น เพราะเกลือจะไปปรับค่าสมดุลของความเป็นกรดและด่างในน้ำ ทำให้สามารถกำจัดพวกเชื้อรา ปรสิต โปรโตซัว และพยาธิน้ำอื่น ๆ ได้เป็นอย่างดี

ปลาทองหางเปื่อย ทำไง

ตัวเกลือยังช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันให้กับน้องปลาได้ เพราะเมื่อมีความสมดุลในน้ำที่เท่าเทียมกันแล้ว ปลาทองที่มีการหายใจนำน้ำเข้าออกภายในร่างกายตลอดเวลา ปลาทองจะต้องใช้แรงเหมือนที่คนเราหายใจ และเมื่อเกลือไปปรับระบบของน้ำให้ดีขึ้นแล้ว ทำให้ปลาทองสามารถหายใจเข้าออกได้อย่างมีประสิทธิภาพ และทำให้ระบบกล้ามเนื้อทำงานคล่องตัวขึ้น

เมื่อน้องปลารู้สึกสบายตัว จึงไม่เกิดอาการเครียด แล้วทำให้ระบบภูมิคุ้มกันในการผลิตเมือกเพื่อป้องกันสิ่งสกปรกหรือเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย ทำให้ไม่เกิดโรคต่าง ๆ และเป็นโรคปลาทองหางเปื่อยได้ง่าย ส่วนอัตราการใส่เกลือลงในน้ำต้องกะปริมาณให้เหมาะสมคือ ในน้ำ 1 ลิตรนั้นจะใช้เกลือไม่เกิน 0.3 กรัม หรือหากเมื่อเทียบกับตู้ปลาขนาด 48 นิ้ว จะใช้เกลือที่ประมาณ 4 ช้อนโต๊ะ และสามารถเติมเกลือได้ทุกครั้งเมื่อมีการเปลี่ยนน้ำใหม่ให้กับปลาเพื่อป้องกันโรคต่าง ๆ เบื้องต้นได้

ในตอนนี้ผู้เลี้ยงปลาทุกท่านคงจะหายห่วงและหมดกังวลกับโรคปลาทองหางเปื่อยกันไปบ้างแล้ว เพราะสามารถรักษาได้ง่าย แต่การป้องกันไม่ให้เกิดโรคนี้กับเจ้าปลาทองได้ดีที่สุดนั้นคือ การหมั่นดูแลรักษาระบบกรองน้ำ การหมั่นเปลี่ยนน้ำให้สะอาดเมื่อเห็นว่าน้ำเริ่มขุ่นและสกปรก รวมไปถึงการสังเกตตัวปลาอยู่เป็นประจำว่าปกติดีหรือไม่